วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฏหมาย

กฎหมาย


หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ















ความหมายของกฎหมาย



ปัจจุบัน แนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาตินั้นไม่เคยมีอิทธิพลสูงสุดอย่างเด็ดขาดเหนือ ความคิดเรื่องกฎหมายฝ่ายบ้านเมอง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติจะไร้ประโยชน์เพราะเท่าที่ผ่านมา แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติได้มีอิทธิพลมากในสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้จากคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1776 ซึ่งกล่าวถึงสิทธิโดยธรรมชาติ ในอันที่ จะแยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระ นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้นำเรื่องสิทธิธรรมชาติไปเป็นหลักในการประกาศใช้ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ.1948 ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าบรรดาผู้จัดทำกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง ก็ได้พยายามจะนำคุณธรรมและคุณค่าทางจริยธรรมเข้ามาผสมผสานในกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเป็นการผ่อนคลายความคิดในทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองลง อันเป็นการสร้างประสิทธิภาพที่ดีให้แก่กฎหมายต่าง ๆ ที่นำมาประกาศใช้บังคับแก่ประชาชน
นอกจากนักปรัชญาทางกฎหมายของสองสำนักความคิดดังกล่าวที่ได้พยายามให้คำนิยามคำว่า“กฎหมาย” ก็ยังมีผู้ได้พยายามค้นหาคำตอบว่ากฎหมายคืออะไรอีกหลายท่าน อาทิเช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งได้รับสมญาว่า พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงอธิบายไว้ว่า “กฎหมายนั้นคือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องโทษ” นักกฎหมายคนอื่น ๆ ก็ได้อธิบายไว้ทำนองเดียวกัน คือ
ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า “กฎหมายได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วย การปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม”
ศาสตราจารย์เอกูต์ อธิบายว่า “กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อห้ามซึ่งมนุษย์ต้องเคารพใน ความประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันมาจากรัฆฐาธิปัตย์หรือหมู่มนุษย์ มีลักษณะทั่วไปใช้บังคับได้เสมอไปและจำต้องปฏบัติตาม”
อย่างไรก็ดี ทุกนิยามความหมายข้างต้น ก็จะทำได้แต่เพียงการอธิบายความหมายที่ใกล้เคียงที่สุด ว่ากฎหมายคืออะไรเท่านั้น แต่ยังไม่เคยปรากฏเลยว่า มีผู้ใดสามารถให้คำตอบที่สมบูรณ์ถูกต้องที่สุดในข้อนี้ได้ ทั้งนี้เพราะแม้แต่ตัวกฎหมายเอง ก็เป็นอนิจจังอย่างหนึ่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามภาวการณ์และกาลสมัยของสังคม
สำหรับในที่นี้ ขออธิบายว่า กฎหมายนั้นมีความหมายหลายประการสุดแท้แต่จะถือเอาข้อใดเป็นสาระสำคัญ ถ้าถือเอาหน้าที่ของกฎหมายเป็นสาระสำคัญแล้ว กฎหมายย่อมหมายถึง กฎแห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์และเป็นบรรทัดฐานความประพฤติ สำหรับมนุษย์รุ่นต่อ ๆ ไปในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าถือเอาแหล่งหรือผู้ทำให้มีกฎหมายตามความเป็นจริงในสังคมเป็นหลักแล้ว กฎหมาย ย่อมหมายถึง คำสั่งของผู้เป็นใหญ่ในสังคมซึ่งมีอำนาจในการออกคำสั่งนั้นและ การละเมิดคำสั่งย่อมได้รับผลร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อย่างไรก็ตามในการอธิบาย ณ ที่นี้ ขออธิบายตามลักษณะของกฎหมายโดยทั่วไป ซึ่งแบ่งออกได้ 4 ประการ คือ
(1) กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งคำบังคับมิใช่คำขอร้องวิงวอน หรือแถลงการณ์
(2) กฎหมายเป็นคำสั่งคำบังคับที่กำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม ซึ่งเรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์
(3) กฎหมายเป็นคำสั่งคำบังคับที่ใช้บังคับ หรือให้เป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป
(4) กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน


ความสำคัญของกฎหมายและความจำเป็นที่ต้องรู้
กฎหมาย


ด้วยสัญชาติญาณของมนุษย์ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบเพราะทุกคนรักความอิสระ แต่ถ้าทุกคนทำอะไรตามใจชอบจนเกินไป ก็อาจเป็นการรบกวนและก่อความเดือดร้อนระหว่างกันได้ ดังนั้นการกำหนดขอบเขตความอิสระในการทำสิ่งใด ๆ จึงต้องมีการจำกัดลงด้วยมาตรฐานอันเดียวกันที่จะใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคน ในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนดวิถีทางปฏิบัติภารกิจของมนุษย์ประจำวันนับตั้งแต่เกิดจนตายหากผู้ใดกระทำเกินเลยขอบเขตที่กำหนดไว้แล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะต้องได้รับผลร้ายจากสังคมเป็นการตอบแทน กฎเกณฑ์และข้อบังคับเหล่านี้ได้วิวัฒนาการตามภาวะของสังคมจนกลายเป็นกฎหมาย ซึ่งจะได้วิวัฒนาการต่อไป ดังนั้นเราจึงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าชีวิตของคนเรานี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย
โดยเฉพาะในปัจจุบัน เราจะยิ่งเห็นได้ชัดว่ากฎหมายเกี่ยวพันกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิด กฎหมายก็กำหนดว่า เจ้าบ้านหรือมารดาต้องไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร เมื่อมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสก็ต้องจดทะเบียนสมรส ระหว่างเป็นสามีภรรยากัน การจัดการทรัพย์สินก็ตกอยู่ภายใต้กฎหมาย เมื่อเสียชีวิตลงก็ต้องแจ้งเพื่อขอรับใบมรณบัตร นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันก็ยังมีกรณีเกี่ยวพันกับกฎหมาย เช่น ตื่นขึ้นมารต้องออกไปจ่ายตลาดซื้อหาอาหารบริโภคก็ต้องใช้กฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยซื้อขาย เมื่อไปทำงานเป็นลูกจ้างเขาก็ต้องใช้กฎหมายจ้างแรงงาน และกฎหมายแรงงาน จึงเห็นได้ว่าในแต่ละวันชีวิตของเราต้องผูกพันกับกฎหมายตลอดเวลา
นอกจากนี้ในชีวิตของเราส่วนที่ต้องเกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมือง จะเห็นได้ว่าประชาชนทุกคนในชาติย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นี้เราก็ได้มากมายหลายประการตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ แต่ทั้งนี้หน้าที่ของประชาชนต่อชาติก็ย่อมมีขึ้น จะต้องปฏิบัติไปให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่สำหรับชายที่จะต้องเข้ารับราชการทหาร สิ่งเห่านี้ล้วนแล้วก็เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้กฎหมายจึงมีความจำเป็นแก่ประชาชนเพราะเป็นการให้ประโยชน์แก่ประชาชนเองโดยตรง และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความเป็นระเบียบ และความสงบเรียบร้อยในสังคมขึ้น เพราะถ้าหากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าทางด้านกฎหมายก็มักจะเกิดปัญหาขึ้น อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกัน และประชาชนต่อข้าราชการผู้ปฏิบัติการไปตามหน้าที่ ซึ่งปรากฏอยู่เสมอว่าข้อขัดแย้งเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจกันอันเนื่องมาจากความไม่รู้กฎหมายทั้งสิ้น
ดังนั้นในทางกฎหมายจึงเกิดหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว”ทั้งนี้เป็นหลักที่สืบเนื่องมาจากนโยบายการใช้กฎหมายว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้เพราะหากให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าวได้ การบังคับใช้กฎหมายก็จะไม่เป็นการทั่วไปแก่คนทุกคน เพราะบางคนจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดกันเสียหมด ก็คงไม่ต้องมีการรับโทษตามความรับผิดนั้น ยิ่งกว่านั้นถ้าหากให้แก้ตัวได้ก็จะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนปิดหูปิดตาไม่ยอมรับรู้กฎหมาย เพราะถ้ายิ่งรู้มากก็ต้องผิดมาก ถ้ารู้น้อย ๆ ก็ไม่ต้องรับผิดเท่าไร
ฉะนั้นโดยหลักแล้วบุคคลจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดตามกฎหมายไม่ได้ เว้นแต่กฎหมายจะเปิดโอกาสให้กล่าวอ้างได้ ข้อยกเว้นเช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 ซึ่งบัญญัติว่า“บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่า กฎหมายบัญญัติว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” จากบทบัญญัติมาตรานี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายยอมรับรู้ข้อแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย แต่การยอมรับของกฎหมายนี้ยังไม่เด็ดขาดโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าศาลเชื่อว่า ผู้นั้นไม่รู้ว่ามีกฎหมายนั้นจริง ๆ แล้ว ศาลเพียงแต่จะลงโทษให้น้อยลงเท่านั้นมิได้ยากเลิกการกระทำผิดนั้นให้สิ้นสภาพความผิดไป
จากที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น จึงอาจสรุปประโยชน์ของการศึกษาได้ดังนี้
1. ประโยชน์ในด้านการศึกษาทางสังคมศาสตร์ เพราะนิติศาสตร์เป็นการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการกำหนดบทบาทและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม โดยมาตรการทางกฎหมาย
2. ประโยชน์อันเกิดจากการได้รู้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพราะเมื่อเราอยู่รวมกันเป็นสังคม การกำหนดขอบเขตความประพฤติของบุคคลให้อยู่ภายใต้กฎหมายข้อบังคับจึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
3. ประโยชน์จากการระวังตัวเองที่ไม่พลั้งพลาดกระทำผิดอันเนื่องมาจากหลักที่ว่า “ความไม่รู้ข้อกฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” เพราะถ้าทำผิดแล้วก็ต้องเกิดความรับผิดเสมอไป เว้นแต่กฎหมายจะเปิดโอกาสให้กล่าวอ้างข้อแก้ตัวได้ เฉพาะในบางกรณี
4. ประโยชน์ในทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรง เพราะการประกอบอาชีพต่าง ๆ ก็ล้วนแต่อาศัยกฎหมายทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะกฎหมายเข้ามาเกี่ยวพันกับชีวิตของเราตลอดเวลา เช่น ทำการค้าต้องไปจดทะเบียนการค้า ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรต้องจ้างคนทำงานตามกฎหมายแรงงาน ดังนั้นประโยชน์ที่ได้จากการศึกษากฎหมายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ
5. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เมื่อเราเป็นประเทศประชาธิปไตยสิทธิหน้าที่ของประชาชนจึงมีความสำคัญเป็นหัวใจของการปกครอง เมื่อประชาชนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนและใช้สิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายแล้ว ก็จะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของการปกครองและการบริหารงานทางการเมือง ให้สอดคล้องตาม


องค์ประกอบของกฏหมาย









กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ

๑. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ.
๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.
๓. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี ๒ ประเภท คือ
(๑) บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.
(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง).
๔. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม.
ซึ่งจะได้อธิบายตามลำดับไป




๑. กฎหมายเป็น บทบัญญัติ.
บทบัญญัติ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในกฎหมาย การที่เราจะทราบว่า บทบัญญัติ คืออะไร เราคงต้องดูจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้นิยามความหมาย ของถ้อยคำที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
“บท”
๐ เป็นคำนาม หมายความว่า ข้อความเรื่องหนึ่งๆ หรือ ตอนหนึ่ง
“บัญญัติ”
๐ เป็นคำนาม หมายความว่า ข้อความที่ตรา หรือ กำหนดขึ้นไว้เป็น ข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ.
๐ เป็นคำกริยา หมายความว่า ตรา หรือ กำหนดขึ้นไว้เป็น ข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือ เป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย.
“ข้อบังคับ” หรือ “กฎข้อบังคับ” หมายความว่า บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับ ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย.
“บังคับ”
๐ เป็นคำกริยา หมายความว่า ใช้อำนาจสั่งให้ทำ หรือ ให้ปฏิบัติ, ให้จำต้องทำ.
“บทบัญญัติ” หมายความว่า ข้อความที่กำหนดไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร ในกฎหมาย.
“ลายลักษณ์” หมายความว่า ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายเป็นรูปต่างๆ.
“อักษร” หมายความว่า ตัวหนังสือ, เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียง หรือ คำพูด.
จากคำนิยามความหมายของถ้อยคำ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ทำให้เราทราบว่า บทบัญญัติ คือข้อความ ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติ หรือดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการบังคับ หรือใช้อำนาจสั่งให้ทำ หรือ ให้ปฏิบัติ และจะต้องบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การที่ กฎหมาย ต้องบันทึกไว้เป็น ตัวอักษร ก็เพื่อให้เป็นหลักฐานที่จะยกขึ้นมาอ้างอิงได้ในภายหลัง หากไม่มีลายลักษณ์อักษรก็จะต้องใช้วิธีจำเอาไว้ ซึ่งอาจหลงลืม หรือจำผิดเพี้ยนกันไป อันเป็นเหตุให้เกิดการโต้เถียงกัน และไม่มีทางหาข้อยุติได้.
๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมายจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.
การที่เราจะทราบว่าใครบ้างเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ที่มีอำนาจบัญญัติกฎหมาย เราต้องทราบเสียก่อนว่า อำนาจคืออะไร?
คำว่า “อำนาจ” มีหลายความหมาย คือ
๐ สิทธิ เช่น มอบอำนาจ.
๐ อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่.
๐ ความสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อำนาจบังคับของกฎหมาย อำนาจบังคับบัญชา.
๐ ความสามารถ หรือสิ่งที่สามารถทำหรือบันดาลให้เกิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น อำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
๐ กำลัง, ความรุนแรง, เช่นชอบใช้อำนาจ.
๐ ความบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อำนาจ.
๐ การบังคับ เช่น ขออำนาจศาล.
๓. บทบัญญัติที่เป็นกฎหมาย มี ๒ ประเภท คือ
(๑) บทบัญญัติที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.
(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง)
(๑) กฎหมายที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง เป็น กฎหมายที่กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้มีอำนาจปกครอง กับ บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับ ผู้ถูกปกครอง และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับผู้ปกครองด้วยกัน กฎหมายประเภทนี้ บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศโดยเฉพาะ ในทางวิชาการเรียกกันว่า “กฎหมายปกครอง”
กฎหมายปกครอง มีองค์ประกอบ ที่เป็นสาระสำคัญ ๕ ประการ คือ ๑. สถาบัน ๒. ตำแหน่ง ๓. หน้าที่ ๔. อำนาจ ๕. ความรับผิดชอบ.

(๒) กฎหมายที่ใช้บังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลธรรมดา หรือ สามัญชน ด้วยกัน ทางวิชาการเรียกว่า “กฎหมายเอกชน”
กฎหมายเอกชน มีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. สถานภาพ ๒. สิทธิ ๓. หน้าที่ ๔. ความรับผิด
๔. กฎหมาย ต้องมีสภาพบังคับ
มาตรการบังคับของกฎหมาย
กฎหมายได้กำหนดมาตรการ และ วิธีการบังคับไว้ ๒ ประเภทคือ(๑) การลงโทษ
(๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ.
(๑) การลงโทษ ผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายอาญา จะต้องรับผิดในทางอาญา โดยจะต้องถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
คำว่า "โทษ" หมายความว่า มาตรการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับ ดำเนินการแก่ ผู้กระทำความผิดอาญา

โทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาญา มี ๕ ประการคือ
๑. ประหารชีวิต ๒. จำคุก ๓. กักขัง ๔. ปรับ ๕. ริบทรัพย์สินคำว่า " ลงโทษ" หมายความว่า ทำโทษ เช่น จำขัง จำคุก เป็นต้น.

(๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมาย เป็นสภาพบังคับทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ การบังคับให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระจะถูกบังคับยึดทรัพย์สินออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หรืออาจถูกฟ้องให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นต้น ไม่มีการลงโทษเหมือนกรณีฝ่าฝืนกฎหมายอาญา.
เว้นแต่ ในชั้นบังคับคดี บางกรณี คดีที่ศาลออกคำบังคับให้ผู้แพ้คดี หรือ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการ) เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว ผู้แพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดี และผู้ชนะคดี หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีวิธีบังคับอื่นใดที่จะใช้บังคับได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจศาลที่จะออกหมายจับผู้แพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามากักขังไว้ เพื่อบังคับ แต่ห้ามมิให้กักขังแต่ละครั้งเกินกว่า หกเดือน นับแต่วันจับหรือกักขัง แล้วแต่กรณี (ป.วิแพ่ง. มาตรา ๒๙๗, ๓๐๐.)



ประเภทของกฏหมาย

กฎหมายที่จะนำมาใช้นั้น อาจมีในรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับในระบบประมวลกฎหมายนั้น กฎหมายที่ใช้อยู่ส่วนมากเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเกือบทั้งสิ้น หากเราจะพิจารณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ก็อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง เช่น ถ้าแบ่งโดยแหล่งกำเนิดอาจแบ่งได้เป็นกฎหมายภายในซึ่งบัญญัติขึ้นโดยองค์กร ของรัฐที่มีอำนาจบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้ภายในประเทศ และกฎหมายภายนอกซึ่งบัญญัติขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศหรือเกิดขึ้นจากความ ตกลงระหว่างประเทศภาคีที่เห็นพ้องต้องกันที่จะยอมรับกฎหมายหรือข้อตกลง ระหว่างประเทศนั้น
กฎหมายภายใน ก็ยังอาจแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ถ้าแบ่งโดยถือเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
ถ้าแบ่งโดยถือสภาพบังคับในกฎหมายเป็นหลักก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายอาญาและ กฎหมายแพ่ง
ถ้าแบ่งโดยถือลักษณะการใช้เป็นหลัก ก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
สำหรับ กฎหมายภายนอก ซึ่งได้แก่กฎหมายระหว่างประเทศนั้น ก็อาจจะแบ่งออกตามลักษณะของฐานะ และความสัมพันธ์เช่นกัน เช่น แบ่งเป็น กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐใน การร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันในการปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ และส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน





ประเภทของกฎหมายภายใน
กฎหมายที่ใช้ภายในประเทศไทยอาจแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ กันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักใดการพิจารณาแบ่งตามที่กล่าวมาในบทนำ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการแบ่งกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ก) กฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
(1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร
การแบ่งกฎหมายในลักษณะนี้เป็นการแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเมื่อกฎหมายใดได้ถูกบัญญัติขึ้น โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย (หรือกระบวนการนิติบัญญัติ) ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงตราเป็นกฎหมายกฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น เหตุที่นิยมออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรก็เพราะกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มีตัวตนในรูปลายลักษณ์อักษร ตัวอักษรเป็นภาษาที่สื่อความหมายได้ระหว่างมนุษย์ในสังคม เมื่อได้บัญญัติกฎหมายในรูปลายลักษณ์อักษรแล้ว ก็ย่อมทำให้กฎหมายนั้นถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร ประชาชนโดยทั่วไปก็สามารถอ่านและเข้าใจถึงข้อความในกฎหมายได้ กฎหมายลายลักษณ์อักษรจึงเป็นกฎหมายที่เป็นหลักเป็นฐาน สามารถอ้างอิงได้โดยสะดวกด้วยกันทุกฝ่าย เช่น รัฐอ้างตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา หรือในพระราชบัญญัติเพื่อลงโทษผู้ที่กระทำการฝ่าผืนกฎหมายนั้น ๆ
นอก จากนี้กฎหมายลายลักษณ์อักษรอาจออกโดยองค์กรอื่นหรือฝ่ายอื่น นอกจากฝ่ายนิติบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น เช่น ออกโดยฝ่ายบริหารภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ เช่น เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศ และเพื่อความมั่นคงของประเทศ ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) มีอำนาจออกกฎหมาย เช่น พระราชกำหนดได้ตัวพระราชกำหนดที่ออกมาใช้บังคับก้ออกมาในรูปกฎหมายลายลักษณ์ อักษร ตัวอย่างที่นักศึกษาอาจเห็นได้คือ การที่รัฐบาลจะกำหนดราคาน้ำมันเป็นการด่วนและฉุกเฉิน รัฐบาลจะใช้อำนาจที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญตรากฎหมายในรูปพระราชกำหนด ในการกำหนดราคาน้ำมันชนิดต่าง ๆ หรือในกรณีอื่น เช่น ฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับเรื่องอัตราภาษีต่าง ๆ ซึ่งอาจจะต้องอาศัยกลไกในการออกกฎหมายอย่างฉับพลัน เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์อันไม่เป็นธรรมอันจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความ มั่นคงทางเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของประชาชนภายในประเทศ
การออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรยังอาจออกได้โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายอื่นยกตัวอย่างเช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งอาจเป็นเทศบาล หรือสุขาภิบาล อาจออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ภายในเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาล โดยอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 เป็นต้น
(2) กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
หมายถึง กฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติขึ้นโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 3.1 เรื่องที่มาของกฎหมาย สำหรับในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมายนั้น กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นได้แก่ จารีตประเพณี ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 3.1.2 ข) และหลักกฎหมายทั่วไป เฉพาะในส่วนที่มิได้เกิดขึ้นจากการบัญญัติกฎหมาย ดังที่ได้กล่าวมาในเรื่องที่ 3.1.2 ค)
นอกจากนี้กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรยังหมายถึง กฎหมายที่ไม่ปรากฏเป็นตัวอักษรที่เราเรียกว่าunwritten law เนื่องจากในการบัญญัติกฎหมายเรื่องหนึ่ง ๆ หรือมาตราหนึ่งนั้นย่อมมีวัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายนั้น หรือมีเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายนั้น หรือย่อมมีหลักการและเหตุผลของกฎหมายนั้น นักนิติศาสตร์บางท่านให้ความเห็นว่าตัววัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ หรือหลักการและเหตุผลนั้น คือกฎหมายที่แท้จริงแต่ผู้ร่างกฎหมายต้องถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาเพื่อสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบถึงข้อความในกฎหมาย ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ จึงเป็นเพียงสิ่งที่ทำให้ปรากฏขึ้นเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้น หากจะมีข้อสงสัยในถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทแล้ว นักนิติศาสตร์ย่อมจะต้องย้อนไปดูวัตถุประสงค์เจตนารมณ์ หรือหลักการและเหตุผลของกฎหมายนั้นเพื่อหาความหมายที่แท้จริง หรือที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากผู้ร่างสามารถถ่ายทอด unwritten law ออกมาเป็นตัวบทกฎหมายได้ดีแล้ว unwritten law กับกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ปรากฎก็จะไม่มีความแตกต่างกัน
ข) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
นักศึกษาได้ศึกษาเรื่องสภาพบังคับของกฎหมายมาแล้วในหน่วยที่ 1 ซึ่งได้กล่าวถึงสภาพบังคับในลักษณะต่าง ๆ แต่สภาพบังคับของกฎหมายที่เป็นหลักสำคัญนั้นมีอยู่สองประการด้วยกัน คือ สภาพบังคับทางอาญาและสภาพบังคับทางแพ่ง การพิจารณาแบ่งประเภทของกฎหมายตามสภาพบังคับนั้น คงจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นสภาพบังคับทางอาญาและอะไรเป็นสภาพบังคับ ทางแพ่ง
สำหรับสภาพบังคับทางอาญานั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ได้บัญญัติถึงโทษในทางอาญาได้แก่ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างนึ่ง หรือหลายอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้นที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษผู้ที่กระทำผิดทางอาญา
ส่วนสภาพบังคับทางแพ่งนั้น ไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ ไว้โดยตรงเช่นในประมวลกฎหมายอาญา แต่อาจจะสังเกตได้จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้ การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือเป็นโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
การ แบ่งประเภทของกฎหมายว่ากฎหมายใดเป็นกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งจึงอาจจะดู อย่างคร่าว ๆ ได้ โดยการพิจารณาจากสภาพบังคับ หากบทบัญญัติใดมีโทษทางอาญาสถานใดสถานหนึ่งใน 5 สถานดังกล่าวมาข้างต้นก็ย่อมเป็นกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา หากกฎหมายนั้นมีสภาพบังคับเป็นอย่างอื่น (นอกจากสภาพบังคับในกฎหมายอาญาทั้ง 5 สถาน) โดยปกติกฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายแพ่ง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ในกฎหมายบางฉบับอาจจะมีสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กัน ไปก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น กฎหมายที่ยกตัวอย่างมานี้คุ้มครองทั้งสาธารณชนและปัจเจกชน (หมายถึงประชาชนแต่ละคน) เพราะโดยทั่วไปความผิดในทางอาญาย่อมเกิดขึ้นจากกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคม ส่วนรวมหรือสาธารณชนแต่ความผิดในทางแพ่งนั้นเกิดจากการกระทำที่มีผลต่อคู่ กรณีที่เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น กฎหมายที่มีลักษณะผสมดังกล่าว จึงเป็นทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งผสมกันอยู่ในตัว
ค) กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
การแบ่งประเภทของกฎหมายในกรณีนี้ เป็นการแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กฎหมายโดยทั่วไปส่วนมากจะเป็นกฎหมายในรูปกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความคิด อันจะก่อให้เกิดผลคือสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนดขึ้น บทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาหรือในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ แต่การที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้นั้น จึงเป็นจะต้องมีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ ซึ่งเราเรียกว่ากฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งได้แก่กฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง เป็นต้น
หาก จะยกตัวอย่างตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อเกิดมีการกระทำความผิดทางอาญาขึ้น เราจะรู้ได้ว่าเป็นความผิดทางอายาก็เมื่อตรวจดุจากตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ว่า เข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมายและกฎหมายนั้นได้กำหนดโทษสำหรับความ ผิดนั้น ๆ ไว้ด้วย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษไว้จึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนกฎหมายที่กำหนดวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับนั้นได้แก่ ประมวลกฎหมายวีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้จะกำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการ ดำนินคดีอาญา การร้องทุกข์กล่าวโทษว่าได้มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิพากษาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
การ ดำเนินคดีแพ่งก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีความขัดแย้งหรือโต้แย้งสิทธิระหว่างบุคคลตามที่กฎหมายรับรองให้ เช่นโต้แย้งสิทธิตามที่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้แล้วหรือโต้แย้งสิทธิตามที่คู่ กรณีตกลงกันไว้ในสัญญา (อันเสมือนเป็นกฎหมายที่คู่กรณีตกลงให้บังคับกันได้) คู่กรณีย่อมนำเรื่องขึ้นมาฟ้องร้องเป็นคดียังโรงศาลได้ หรือแม้การขอให้ศาลสั่งรับรองสิทธิหรือคุ้มครองสิทธิในบางโอกาส เช่นการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นผู้จัดการมรดก หรือการยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ ตามปพพ.มาตรา 1382 สำหรับตัวอย่างการที่ให้ศาลคุ้มครองสิทธิก็ได้แก่ การที่ขอให้ศาลสั่งเป็นผู้ไร้ความสามารถเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของผู้วิกล จริต ตาม ปพพ. มาตรา 29 ก็ย่อมจะกระทำได้เมื่อกฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ แต่ทั้งนี้การนำคดีแพ่งใด ๆ ขึ้นสู่ศาล ก็ย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติถึงวีการและขั้นตอนในการดำเนินคดี โดยเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาพิพากษาคดี และการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ตามความเข้าใจของผู้เขียน กฎหมายบางฉบับก็มีทั้งส่วนที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติปนกันก็มี ทำให้ยากแก่การจะแบ่งว่าเป็นประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลายซึ่งก็มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบของกฎหมาย และสภาพบังคับ ซึ่งเป็นเรื่องของกฎหมายสารบัญญัติ แต่ในขณะเดียวกันก็มีบทบัญญัติกล่าวถึงวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย จึงทำให้เป็นกฎหมายที่เป็นทั้งสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ การที่จะตัดสินว่าเป็นกฎหมายประเภทใดนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเราคงจะต้องดูว่าสาระนั้นหนักไปทางด้านใดมากกว่ากัน
ง) กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
(1) กฎหมายมหาชน
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครองประชาชน เพราะในการบริหารประเทศนั้น รัฐจะต้องมีอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม ประชาชนสามารถอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข กฎหมายมหาชนจึงมีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศเพราะรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม ตัวอย่างของกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติค้ากำไรเกินควร เป็นต้น
ถ้านักศึกษาได้ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่าเป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบแบบแผนในการใช้อำนาจอธิปไตย และกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนซึ่งก็หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนนั่นเอง กฎหมายปกครองก็เป็นกฎหมายที่กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการริการสาธารณด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนสำหรับกฎหมายอาญาก็เป็นกฎหมายที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม ความผิดทางอาญาที่กฎหมายได้บัญญัติเอาโทษนั้นเป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อให้สังคมส่วนรวมดำรงอยู่ได้ ส่วนวีการและขั้นตอนที่จะเอาตัวคนผิดมาลงโทษทางอาญานั้น มีบัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังที่เคยกล่าวมาแล้ว
พระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็เช่นกัน ล้วนเป็นกฎหมายที่มุ่งควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุข ให้เป็นไปด้วยความเป็นธรรม และให้สนองตอบนโยบายของรัฐที่ได้วางไว้เพื่อความเจริญของสังคมส่วนรวม เพราะการที่ประชาชนแต่ละคนจะอยู่ได้อย่างเป็นสุขได้นั้น สังคมส่วนรวมต้องมีความสงบสุขเสียก่อน เราจึงควรคำนึงถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มิฉะนั้นสังคมก็จะอยู่ไม่ได้
(2) กฎหมายเอกชน
เป็น กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของ กฎหมายที่จะช่วยมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ตัวอย่างของกฎหมายเอกชน คือ กฎหมายแพ่งทั้งหลายซึ่งบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ พระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น ล้วนเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมาสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่าง กัน ในรูปของการทำนิติกรรมสัญญาที่จะมีผลผูกพันระหว่างคู่กรณีทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง โดยมีกฎหมายรับรองคุ้มครองให้ หากคู่กรณีปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถทำสัญญากันได้ แต่สัญญาที่ทำนั้นจะมีผลผูกพันคู่กรณีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการที่ได้ ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการสัญญาซื้อขายนั้นก็ย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพัน คู่กรณี สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายย่อมเกิดขึ้นในระหว่างกัน ถ้าฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ก็ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้ สัญญาอื่นก็เช่นกันไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะหรือจะเป็นสัญญาในลักษณะอื่นใดที่กฎหมายยอมรับรองก็ย่อมก่อให้ เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันได้ เนื่องจากกฎหมายยอมให้เอกชนสามารถสร้างความผูกพันกันได้ภายใต้ความคุ้มครอง ของกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระหว่างกัน
ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนว่า การแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทนี้ นิยมทำแต่เฉพาะในประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เช่น ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุผลในทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ นักนิติศาสตร์ในสมัยก่อนต้องการให้มีหลักเกณฑ์ การใช้กฎหมายและการตีความต่างกัน จนเป็นเหตุให้มีการแบ่งแยกศาล โดยให้มีศาลปกครองทำหน้าที่วินิจฉัยคดีตามกฎหมายมหาชน ต่างหากจากศาลยุติธรรมซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยคดีตามกฎหมายเอกชนในเวลาต่อมา ส่วนในประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์นั้น กฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน มิได้แบ่งแยกต่างหากจากกัน และถือว่าเป็นเรื่องของกฎหมายเดียวกัน จึงอาจบัญญัติกฎหมายเอกชนไว้ในกฎหมายมหาชน หรือกฎหมายมหาชนไว้ในกฎหมายเอกชนก็ได้ แม้ศาลที่ใช้กฎหมายทั้งสองก็มิได้แบ่งแยกแต่เป็นศาลเดียวกันพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภท และหลักเกณฑ์การใช้กฎหมายและการตีความก็อย่างเดียวกันหรือใกล้ เคียงกัน
อย่าง ไรก็ตามในเวลาต่อมา แม้ในประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเองก็นิยมบัญญัติกฎหมายเอกชนและมหาชน ผสมผสานกัน เพราะความจำเป็นบางประการ แม้ในประเทศไทยก็ได้นำเอามาบัญญัติร่วมกันในกฎหมายบางฉบับ ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนในส่วนที่คุ้มครองลิขสิทธิ์ของงานที่ผู้ใดผู้หนึ่งได้ คิดสร้างสรรค์ขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหนังสือ หรืองานเขียนรูปภาพ พิมพ์ภาพ ถ่ายภาพหรืองานออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้างหรือตกแต่งภายใน หรืองานแต่งคำร้องทำนองเพลงหรือการคิดท่าทางการเต้น ร่ายรำต่าง ๆ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ฉบับนี้ ผู้ใดจะเอาผลงานที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นมาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายนั้น การคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเองโดยอำนาจแห่ง กฎหมาย เพราะรัฐต้องการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ที่สร้างสรรค์งานเหล่านั้นขึ้นมา และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยทั่วไปคิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ขึ้นมา รัฐจะยื่นมือเข้าไปคุ้มครองตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชน แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการโอนลิขสิทธิ์หรือการยินยอมให้ใช้สิทธิ์โดยมีค่าตอบ แทน หรือไม่มีค่าตอบแทนนั้นเป็นเรื่องของกฎหมายเอกชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของลิขสิทธิ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องตกลงกันใน ระหว่างกันได้ ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของกฎหมายที่ผสมกันระหว่างกฎหมายมหาชนและ กฎหมายเอกชนยังมีกฎหมายที่ผสมกันระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน ยังมีกฎหมายที่ผสมกันในทำนองนี้อีกหลายฉบับซึ่งนักศึกษาคงจะพบในการค้นคว้า กฎหมายต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 3.2.3
ประเภทของกฎหมายภายนอก
นักศึกษาได้ศึกษากฎหมายภายในมาแล้ว ในเรื่องที่ 3.2.3 นี้จะได้ศึกษาการแบ่งประเภทของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายภายนอกที่มีผลต่อประชาชนในประเทศด้วย
กฎหมายระหว่างประเทศนั้น อาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท ด้วยกันคือ
ก) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
ข) กฎหมายระว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
ค) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
ผู้เขียนจะขอแยกกล่าวในแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้
ก) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่นักนิติศาสตร์บางท่านเห็นว่าไม่เป็นกฎหมายโดยแท้จริง เป็นเพียงธรรมะหรือแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นมาใช้กันในระหว่างสังคมประชาชาติ เหตุที่เห็นว่าไม่เป็นกฎหมายโดยแท้จริงก็เพราะไม่มีสภาพบังคับที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากไม่มีองค์กรที่จะมีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามมติของสมัชชาใหญ่หรือสังคมประชาชาติ ส่วนใหญ่ หรือตามคำพิพากษาของศาลโลก(International Court of Justice) ได้ คงมีเพียงแต่คำเชิญชวนให้สมาชิกในสังคมประชาชาติบีบบังคับในด้านต่าง ๆ เช่น การไม่ติดต่อคบหาสมาคมด้วย หรือไม่ติดต่อในทางการค้าขายด้วย เพื่อเป็นการสร้างสภาพบังคับ(sanction) ทางอ้อม เพื่อให้ปฏิบัติตามมติหรือคำพิพากษานั้น การไม่มีองค์กรที่จะบังคับให้เป็นไปตามมติหรือคำพิพากษา ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาคือการใช้กำลังทหารเข้าบังคับเสียเอง และในบางครั้งก็กลายเป็นสงครามซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่พลโลก และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีนักกฎหมายอีกเป็นจำนวนมากเห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้เป็นกฎหมาย เพราะการที่จะพิจารณาว่าเป็นกฎหมายหรือไม่ โดยเทียบเคียงกับกฎหมายภายในโดยทั่วไปนั้นย่อมไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่บังคับแก่สังคมประชาชาติ ในขณะที่กฎหมายภายในบังคับแก่ประชาชน จึงไม่อาจจะใช้มาตรฐานเดียวกันมาตัดสินสิ่งที่แตกต่างกันได้
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับอันว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในการที่จะปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่ารัฐใดจะเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลที่สมมุติขึ้นตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น คงจะต้องพิจารณาว่ารัฐดังกล่าวเข้าเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ดังต่อไปนี้หรือไม่
1) ต้องมีประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเป็นปึกแผ่น เรียกว่าพลเมือง
2) ต้องมีดินแดนเป็นของตน ซึ่งมีอาณาเขตแน่นอน
3) ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
4) ต้องมีเอกราชไม่ขึ้นแก่รัฐอื่นใด
5) ต้องมีอธิปไตย กล่าวคือ มีอำนาจกระทำการใด ๆ โดยอิสระตามความเห็นชอบของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมบ้านเมืองภายใน หรือกิจการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่น ๆ
รัฐใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศได้
กฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้จากความตกลงที่ได้ทำขึ้นโดยทั่วไป เพื่อให้ประเทศอื่นเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีด้วย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ หรือ เช่น สนธิสัญญาสากลไปรษณีย์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกที่จะร่วมมือกันในการส่งข่าวสารในระหว่างกัน นอกจากความตกลงที่ทำขึ้นโดยทั่วไปแล้ว ยังอาจมีความตกลงซึ่งกระทำขึ้นระหว่างรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ภาคี เช่น บรรดาสนธิสัญญาทั้งหลายที่ทำขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ระหว่างประเทศคู่ภาคีซึ่งมีมากมายด้วยกัน เมื่อได้ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และประเทศต่าง ๆ ที่เป็นภาคีได้ยอมรับรองโดยให้สัดยาบันแล้ว ก็จะกลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลบังคับใช้ได้
กฎหมายระหว่างประเทศยังเกิดขึ้นได้จากจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน ซึ่งบรรดารัฐหรือประเทศทั้งหลายเห็นชอบด้วยกับแนวปฏิบัติอันว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐต่อรัฐเหล่านั้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่มีผลเช่นเดียวกับกฎหมายที่ทำขึ้นโดยความตกลงดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว สำหรับตัวอย่างในกรณีนี้ก็มีเช่น หลักปฏิบัติในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ที่จะต้องมีพิธีการต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติตามจารีตประเพณี และเรื่องเอกสิทธิ์ในทางการทูต ซึ่งต่างมีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เป็นต้น
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองจึงมีระดับต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า มีประเทศที่เกี่ยวข้องด้วยมากน้อยเพียงใด กฎบัตรสหประชาชาติย่อมมีความสำคัญมาก เพราะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลบังคับแก่บรรดาประเทศสมาชิกซึ่งในปัจจุบันมีอยู่มากมาย 160 ประเทศ สนธิสัญญาสากล ย่อมมีความสำคัญมากกว่าสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพราะสนธิสัญญาระหว่างประเทศมีประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องน้อยกว่าสนธิสัญญาสากล สนธิสัญญาระหว่างประเทศอาจมีประเทศที่เข้าร่วมเพียงกลุ่มหนึ่ง หรืออาจเป็นเพียงประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ดังนั้นสนธิสัญญาระหว่างสองประเทศนี้ย่อมมีความสำคัญน้อยกว่าสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นเรื่องที่นักศึกษาควรศึกษาและให้ความสนใจเช่นเดียวกับกฎหมายภายใน เพราะเป็นความจำเป็นที่เราควรจะต้องรู้ การขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ในด้านหนึ่งด้านใดย่อมเป็นข้อเสีย เหมือนดังเช่นครั้งหนึ่งประเทศไทยขาดแคลนนักกฎหมายระหว่างประเทศ จนทำให้ต้องสูญเสียเขาพระวิหารไปให้แก่กัมพูชา อันเป็นความเสียหายที่คนไทยทั้งชาติไม่ลืมเลย
ข) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในต่างรัฐ ในสมัยก่อนที่โลกยังไม่มีความเจริญ การคมนาคม การติดต่อสื่อสารยังไม่ดีพอ ความสำคัญของกฎหมายนี้ยังไม่ค่อยเห็นชัด ในโลกปัจจุบันประชาชนในโลกมีการเดินทาง ติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว ความสัมพันธ์กันในเชิงส่วนตัวหรือในเชิงธุรกิจการค้าก็ย่อมมีเพิ่มมากขึ้น คนต่างรัฐต่างชาติต่างภาษามาแต่งงานกัน ก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่เรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างสามีภรรยา ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา หรือเมื่อจะหย่ากันจะใช้เหตุหย่าของประเทศใดก็ย่อมมีเงื่อนไขต่างกันไปผลของ การหย่าและการแบ่งแยกทรัพย์สินหลังจากการหย่าก็ย่อมจะเป็นเรื่องที่จะต้องมี กฎหมายที่กำหนดเครื่องต่าง ๆ เหล่านี้ให้แน่นอน หรืออีกกรณีหนึ่งคือ การติดต่อทำธุรกิจค้าขายระหว่างประชาชนต่างรัฐ ก็ย่อมมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดมาบังคับแก่สัญญาที่คู่กรณีสองฝ่าย ทำขึ้นเพื่อใช้ผูกมัดระหว่างกันและการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาหากมีการโต้ แย้งไม่ลงรอยกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลที่จะกำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนหรือเอกชนต่างรัฐที่สมัครใจเข้ามามีความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อจะเป็นกฎหมายกลางที่มิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันในการใช้ กฎหมายภายในของรัฐหนึ่งมาบังคับแก่ความสัมพันธ์ดังกล่าว กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนี้จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทุกที่ในสังคมที่ เจริญอย่างในปัจจุบัน ประเทศไทยเรามีกฎหมายหลักซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย อันเป็นกฎหมายที่จะกำหนดให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ความสัมพันธ์ในเชิงกฎหมาย ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่นๆ
ค) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับรองให้ศาลส่วนอาญาของ อีกรัฐหนึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำความผิด นอกประเทศนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมกันปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา ซึ่งในบางครั้งได้กระทำในต่างแดน หรือผู้กระทำได้หลบหนีออกไปนอกรัฐที่กระทำความผิดเพื่อให้รอดพ้นจากการลงโทษ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา จึงเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการกระทำผิดทาง อาญาระหว่างประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาที่หนีไปอยู่นอกเขตอำนาจของรัฐ จึงเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจของรัฐ ที่จะลงโทษตามกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายภายในได้ ประเทศต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นอย่างดี ก็มักจะทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปรามอาชญากรรมตามหลักถ้อยทีถ้อย ปฏิบัติต่อกันและกัน ประเทศไทยได้มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเคยจับนักโทษผู้ต้องหาคดียาเสพติดที่หลบหนีจากเรือนจำ โดยลักลอบออกไปประเทศมาเลเซียและอีกไม่กี่วันต่อมา รัฐบาลมาเลเซียก็จับตัวส่งคืนมาให้รัฐบาลไทย เพื่อดำเนินการพิจารณาลงโทษต่อไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม สเปน และอิตาลี เป็นต้น
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศทั้งสามแผนกแล้ว อาจจะมีข้อสงสัยว่ากฎหมายระหว่าปงระเทศซึ่งเป็นกฎหมายภายนอกนั้น จะมีศักดิ์หรือระดับความสำคัญสูงกว่ากฎหมายภายในประเทศหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบหุตะสิงห์ ได้ให้ความเห็นว่า ถ้ามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือกฎหมายภายใน (เช่น พระราชบัญญัติ) ได้บัญญัติรับรองไว้ว่าให้ถือข้อตกลงหรือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ก็ย่อมไม่มีปัญหาแต่ถ้ากรณีที่ข้อตกลงหรือกฎหมายระหว่างประเทศนั้นยังมิได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายภายในฉบับใดรับรอง โดยหลักทั่วไปแล้วกฎหมายภายนอกย่อมเหนือกฎหมายภายใน ถ้าจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหา คงจะต้องตรากฎหมายภายในเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเข้าทำนองแก้กฎหมายภายในให้กฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีผลบังคับใช้ได้ เป็นทำนองข้อยกเว้นของกฎหมายภายใน



ศักดิ์ของกฏหมาย
แผนผังแสดงระดับชั้นของกฎหมาย










กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้นี้ อาจจะออกโดยอาศัยอำนาจจากองค์กรที่ต่างกัน เช่น รัฐธรรมนูญออกโดยองค์กรนิติบัญญัติที่สูงสุดของประเทศคือรัฐสภา พระราชบัญญัติก็ออกโดยรัฐสภาเช่นกัน ในขณะเดียวกฎหมายหลักเหล่านี้ก็อาจมอบอำนาจให้องค์กรอื่นออกกฎหมายได้เช่นเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมายได้ในรูปของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเพื่อความเหมาะสมบางประการ และพระราชบัญญัติบางฉบับก็ให้อำนาจองค์กรปกครองตนเอง เช่น เทศบาล สุขาภิบาล ออกกฎหมายเพื่อใช้ในเขตเทศบาล หรือสุขาภิบาลนั้น เป็นต้น
การ ที่มอบหมายให้ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นเป็นผู้ออกกฎหมายแทนฝ่ายนิติบัญญัติ แทนที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะออกกฎหมายเสียเองหมด ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า


(1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นการออกกฎหมายเฉพาะกฎหมายที่สำคัญอันเป็นการกำหนดหลักการและนโยบาย เท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ออกโดยรัฐสภาอันเป็นตัวแทนของปวงชนชาว ไทย
(2) การที่ให้รัฐสภาออกกฎหมายหลักดังกล่าว ย่อมเป็นการทุ่มเวลาเพราะแทนที่จะมาอภิปรายกันในรายละเอียดทำให้ไม่สามารถ ออกกฎหมายได้มาก ทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
(3) การที่ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกบทก็ย่อมจะต้องอยู่ในกรอบของ หลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น จึงเป็นการมอบอำนาจการออกกฎหมายอีกทอดหนึ่ง ฝ่ายที่รับมอบอำนาจก็คือฝ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติ ย่อมทราบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาในการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงอาจนำมาช่วยในการออกกฎหมายลูกบท เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หรือเทศบัญญัติได้เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ และ
(4) การออกกฎหมายระดับนี้ สามารถแก้ไขกฎหมายลูกบทเหล่านี้ให้ทันต่อเหตุการณ์ได้ดี หากจะออกในรูปพระราชบัญญัติแล้วการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกก็จะต้องรอผ่าน การเสนอเป็นร่างกฎหมาย เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ ซึ่งอาจจะต้องรอและใช้เวลาในการแก้ไขนานจนบางทีอาจจะไม่ทันการณ์การที่ให้ ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นเป็นผู้ออกกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่ดี และเป็นการกระจายอำนาจอีกด้วย
โดยปกติกฎหมายของไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จะมีกฎหมายจารีตประเพณีอยู่บ้างก็น้อยมาก ในบรรดากฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งหลาย ย่อมมีระดับชั้นต่างกัน กฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นแม่บทในการวางระเบียบบริหารประเทศย่อมมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาพ กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล และกฎหมายที่ออกโดยองค์การการปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ
โดยปกติกฎหมายของไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จะมีกฎหมายจารีตประเพณีอยู่บ้างก็น้อยมาก ในบรรดากฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งหลาย ย่อมมีระดับชั้นต่างกัน กฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นแม่บทในการวางระเบียบบริหารประเทศย่อมมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล และกฎหมายที่ออกโดยองค์การการปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ




หากจะจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (hierarchy of laws) หรือลำดับชั้นของกฎหมายย่อมจะเรียงลดหลั่นกันไป ดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ
(ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ)
3. พระราชกฤษฎีกา
4. กฎกระทรวง
5. เทศบัญญัติ ข้อบังคับสุขาภิบาล และข้อบัญญัติจังหวัด




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบของการปกครองและระเบียบบริหารประเทศ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด เป็นกฎหมายที่สำคัญกว่ากฎหมายฉบับใดทั้งสิ้นและเป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน จะมีกฎหมายฉบับใดออกมาขัดแย้งรัฐธรรมนูญฯ มิได้ หากมีกฎหมายฉบับใด เรื่องใดออกมาขัดกับรัฐธรรมนูญฯ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากขัดกับกฎหมายแม่บทที่ยึดถือเป็นหลักในการปกครองบริหารประเทศ กฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่ออกมาย่อมต้องสนองรับหลักการและนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
พระ ราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ตามที่บัญญัติเป็นขั้นตอนไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นขอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย จึงเป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา โดยความเห็นชอบของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังที่กล่าวกันว่า พระราชบัญญัติคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของ รัฐสภา ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายโดยทั่วไปนั้น โดยวิธีปกติธรรมดาจะออกในรูปพระราชบัญญัติเสมอ แต่ถ้าหากกฎหมายฉบับใดมีลักษณะครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวพันกันหลายเรื่องก็ อาจจะออกในรูปประมวลกฎหมายได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัฐฎากร เป็นต้น แต่ประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีพระราชบัญญัติบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง
พระ ราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีความจำเป็นรีบด่วน ในอันที่จะรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศจึงไม่อาจรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาตาม วิธีปกติได้ทันการณ์พระราชกำหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่เมื่อตราขึ้นใช้แล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (ตามที่รัฐธรรมนูญฯ จะกำหนดไว้ เช่น สอง หรือสามวัน) ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดนั้นก็ตกไปหรือสิ้นผลบังคับ การต่าง ๆ ที่เป็นไประหว่างที่มีพระราชกำหนดก็ไม่ถูกกระทบกระเทือนเพราะเหตุที่พระราช กำหนดต้องตกไปเช่นนั้น
ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ได้ให้พระราชอำนาจไว้ โดยให้ออกเป็นประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ปกติประกาศพระบรมราชโอการฯ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนด กล่าวคือในยามที่มีสถานะสงคราม หรือในภาวะคับขันถึงขนาดอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะกับสถานการณ์ รัฐธรรมนูญบางฉบับจะมีบทบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบทูลต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้พระองค์ทรงใช้อำนาจโดยประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ จึงทำให้ประกาศพระบรมราชโองการฯ มีศักดิ์เทียบกับพระราชบัญญัติ เช่นเดียวกับพระราชกำหนด แต่ประกาศพระบรมราชโองกาฯ ไม่เป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวดังเช่นพระราชกำหนด ที่จะต้องรีบให้รัฐสภาอนุมัติโดยด่วน ประกาศพระบรมราชโองการฯ จึงเป็นกฎหมายที่ถาวรจนกว่าจะมีการยกเลิกโดยพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่น
พระราชกฤษฎีกา คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือโดยที่พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตราขึ้นเป็นพิเศษ โดยไม่ขัดต่อ กฎหมาย พระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการฯ และจะขัดกับกฎหมายใดที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ โดยปกติพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดสืบเนื่องมาจากความในพระ ราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจึงเป็นการประหยัดเวลาที่รัฐสภาไม่ต้องพิจารณาใน รายละเอียดคงพิจารณาแต่เพียงหลักการและนโยบายที่จะต้องบัญญัติในกฎหมายหลัก แล้วจึงให้อำนาจมาออกพระราชกฤษฎีกาภายหลัง ซึ่งเป็นการสะดวกที่ฝ่ายบริหารจะมากำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติเองและยัง เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์ได้ง่าย เพราะฝ่ายบริหารสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนนิติบัญญัติดังเช่นการ ออกพระราชบัญญัติ อนึ่ง มีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา พระราชกฤษฎีกาเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น
กฎกระทรวง คือกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น ๆ และโดยปกติกฎหมายหลักจะระบุให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงในแต่ละกรณีไว้ กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ถ้าสำคัญรองลงมาก็ออกเป็นกฎกระทรวง เนื่องจากกฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บทจึงไม่อาจจะขัดกับกฎหมายที่เป็นแม่บทนั้นเอง และกฎหมายอื่นๆ ที่มีศักดิ์สูงกว่าได้นอกจากฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ ก็อาจจะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศเพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ต่างเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ตามลำดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายเหล่านี้ คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นองค์กรที่ปกครองตนเอง ต่างก็มีอำนาจตามกฎหมายแต่ละฉบับที่จะออกกฎหมายเพื่อบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่มีอยู่ในกฎหมาย แต่การออกกฎหมายระดับนี้ย่อมจะขัดต่อกฎหมายในระดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ ต่างกับกฎหมายอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนแต่เป็นกฎหมายซึ่งมีผลใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร
ดัง นั้นประชาชนทุกคน จะต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วทั้งสิ้น นับว่าเป็นเรื่องที่เป็นภาระหนักที่รัฐจะต้องทำให้ประชาชนรู้กฎหมาย เพื่อจะได้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน เพราะถ้าประชาชนไม่มีทางจะทราบถึงข้อความในกฎหมายแล้วรัฐนำเอากฎหมายนั้นมา บังคับก็ย่อมเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ในขณะเดียวกันประชาชนก็ควรขวนขวายที่จะรู้กฎหมายด้วย เพื่อป้องกันสิทธิและรู้จักหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองดีด้วยเช่น กัน
อนึ่ง ยังมีกฎหรือข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเคยถือกันทั้งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติ ว่าเป็นกฎหมายหรือ “ถือว่าเป็นกฎหมาย” คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ (บางครั้งเรียกว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) ซึ่งออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงพระปรมาภิไธย เช่นได้มี ฎ. 1662/2505 รับรองได้ว่าประกาศของคระปฏิวัติเป็นกฎหมาย ส่วนที่ว่าประกาศของคณะปฏิวัติจะมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใดก็ต้องพิจารณาจาก เนื้อความของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนั้นเอง เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติที่ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชบัญญัติหรือวางข้อ กำหนดซึ่งปกติแล้วเรื่องเช่นนี้ยอมออกเป็นพระราชบัญญัติย่อมมีศักดิ์เท่ากับ พระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชกฤษฎีกา หรือวางข้อกำหนดซึ่งปกติแล้วเรื่องเช่นนี้ย่อมออกเป็นพระราชกฤษฎีกาย่อมมี ศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา เช่นตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2486 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2497) การจัดตั้งคณะขึ้นใหม่ให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่เมื่อมีการออกประกาศของคณะ ปฏิวัติฉบับที่ 164 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ให้ยกฐานะแผนกวิชานิติศาสตร์ขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวย่อมมีศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา
เรื่องที่ 3.3.2


ประโยชน์ของการจัดลำดับของกฎหมายตามศักดิ์
การ ทราบศักดิ์ของกฎหมายมีประโยชน์ในทางปฏิบัติคือ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายใด ต้องกระทำโดยกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากันหรือสูงกว่า เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องทำโดยตรารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิกพระราชกฤษฎีกาก็ต้องทำโดยตราพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาฉบับ ใหม่จะออกกฎกระทรวงมายกเลิกพระราชกฤษฎีกาไม่ได้ กฎหมายเหล่านี้ไม่สู้จะมีปัญหาเพราะชื่อบอกฐานะหรือศักดิ์อยู่แล้วในตัวและ การออกกฎหมายใหม่ที่มีชื่ออย่างเดียวกันมาอีกในภายหลังก็ไม่ยุ่งยากอะไรแต่ ในกรณีที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติอาจเกิดปัญหา มาก เช่น มีการออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 ต่อมาคณะปฏิวัติสลายตัวไปแล้วและมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น มีรัฐสภาเกิดขึ้น หากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 ต่อมาคณะปฏิวัติสลายตัวไปแล้วและมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น มีรัฐสภาเกิดขึ้น หากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 ไม่เหมาะสมต่อไปสมควรยกเลิกเสีย การจะออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับใหม่มายกเลิกก็ทำไม่ได้ในภาวะปกติ วิธียกเลิกจึงต้องตรวจดูว่าประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 นั้นมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใดจะได้ออกกฎหมายนั้นมายกเลิก เช่น หากมีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ ก็จะได้ให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติมายกเลิก หากมีศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา ก็จะได้ให้คณะรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายกเลิกต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งานพิเศษ "วันวิสาขบูชา" วันวิสาขบูชา
เชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่าง วันวิสาขบูชา กันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ
ความหมายของ วันวิสาขบูชา คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 การกำหนด วันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา" เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
วันวิสาขบูชา ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย ปรากฎหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ 1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา 2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป 3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ กิจกรรมใน วันวิสาขบูชากิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่ 1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา 6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา 7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ 8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่ 1. ความกตัญญู คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่ ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้ มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ3. ความไม่ประมาท คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ


การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน
เขียนโดย ยิ๋งอิ๊ฟ..อ๊น๊าาา ที่ 22:08 0 ความคิดเห็น
ศาลยุติธรรมไทย
ประวัติศาลยุติธรรม
ปัจจุบันนี้ศาลและกระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ทางด้าน การพัฒนาบุคลากรและการขยายศาลยุติธรรมให้กว้างขวางครอบคลุมคดีความทุกด้านตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมโดยเสมอหน้าและเท่าเทียมกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะอาชีพ และทุกท้องที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม การที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมพัฒนาก้าวหน้ามาเช่นนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถาบันยุติธรรมอย่างแน่นแฟ้นตลอดมาโดยทรงเป็นองค์ตุลาการตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา แม้ปัจจุบันศาลก็ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมได้สถาปนามาครบ 100 ปี (พ.ศ. 2535) ได้มีการจัดงานที่ระลึกขึ้นและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนรอยไปสู่อดีต เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายได้ทราบถึงความเป็นมาของศาลไทยและกระทรวงยุติธรรมตลอดจนความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับกระบวนการยุติธรรม ย้อนร้อยอดีตไป 700 ปี เริ่มที่

กรุงสุโขทัย
ในสมัยนี้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดังคำพังเพยที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประชาชนพลเมืองมีน้อย อยู่ในศีลในธรรมคดีความจึงมีไม่มาก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกัน พระมหากษัตริย์จึงทรงตัดสินคดีความด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี หลักฐานจากศิลาจารึกว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงมอบให้ขุนนางตัดสินคดีแทนด้วย ในสมัยนี้พอมีหลักฐานเกี่ยวกับการพิจารณาคดีจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม ไพร่ฟ้า ลูกเจ้า ลูกขุนผิแลผิแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้วจึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อ บ่อเข้าผู้ลักมักผู้ซ่อนเห็นข้าวท่านบ่อใคร่พิน เห็นสินท่านบ่อใคร่เดือด” จากศิลาจารึกนี้ทำให้ทราบว่า การร้องทุกข์ในสมัยนั้นร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง หรือให้ขุนนางเป็นผู้ไต่สวนให้ถ่องแท้และตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม ไม่ลำเอียงและไม่รับสินบน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญใน การพิจารณาคดีในสมัยนั้น สำหรับสถานที่พิจารณาคดีที่เรียกว่า ศาลยุติธรรมนั้นในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีศาล ตัดสินคดีเหมือนในสมัยนี้ แต่ก็มีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ ป่าตาลเป็นที่พิจารณาคดี ซึ่งพอเทียบเคียงได้ว่าเป็นศาลยุติธรรมในสมัยนั้น “1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้ 14 เท่า จึงให้ช่างฟันกระดาษเขียนตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนหก 8 วัน วันเดือนเต็มเดือนบั้ง ฝูงปู่ครูเถร มหาเถรขึ้นนั่งเหนือกระดานหินสวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงถ้วยจำศีล ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือกระดาษหิน ให้ฝูงถ้วยลูกเจ้า ลูกขุน ฝูงถ้วยถือบ้านถือเมือง ในกลางป่าตาลมีศาลา 2 อัน อันหนึ่งชื่อศาลพระมาส อันหนึ่งชื่อพุทธศาลา กระดานหินนี้ชื่อมนังคศิลาบาท” จากศิลาจารึกนี้พอเทียงเคียงได้ว่า ป่าตาลเป็นศาลยุติธรรม สมัยสุโขทัย และพระแท่นมนังคศิลาบาทเป็นเสมือนบัลลังก์ศาลในสมัยนั้น สำหรับกฎหมายที่ใช้ในสมัยสุโขทัยซึ่งปรากฎในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนั้น มีลักษณะคล้ายกฎหมายในปัจจุบัน เช่น กฎหมายกรรมสิทธิ์ที่ดิน “หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน” กฎหมายพาณิชย์ “ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงินค้า ค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” นอกจากนั้นแล้วในหลักศิลาจารึกยังกล่าวถึงกฎหมายลักษณะโจรและการลงโทษ เช่น ขโมยข้าทาสของผู้อื่น “ผิผู้ใดหากละเมิน และไว้ข้าท่านพ้น 3 วัน คนผู้นั้นไซร้ท่านจะให้ไหมแลวันแลหมื่นพัน” นอกจากกฎหมายต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนกฎหมายปัจจุบันแล้ว ยังใช้กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดียด้วย สำหรับการลงโทษในสมัยสุโขทัยตามหลักศิลาจารึก กฎหมายลักษณะโจรมีโทษเพียง ปรับเท่านั้น ไม่มีหลักฐานการลงโทษที่รุนแรงถึงตาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีไม่มากและเป็นผู้ที่เคร่งครัดอยู่ในศีลในธรรมตามหลักพุทธศาสนา ประชาชนจึงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บ้านเมืองก็เจริญขึ้นตามลำดับ ราษฎรก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์มีมากขึ้น จึงมิอาจทรงพระวินิจฉัยคดีความด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึงเช่นกาลก่อน จึงทรงมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยอรรถคดีของอาณาประชาราษฎร์ให้แก่ ราชครู ปุโรหิตา พฤฒาจารย์ ซึ่งเป็นมหาอำมาตย์พราหมณ์ในราชสำนักและเสนาบดีต่าง ๆ เป็นผู้ว่าการยุติธรรมต่างพระเนตรพระกรรณ ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่อาจใกล้ชิดกับราษฎรเหมือนสมัยสุโขทัย แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะดูเหมือนห่างไกลจากราษฎร แต่ว่าบทบาททางด้านการยุติธรรมนั้นกลับดูใกล้ชิดกับราษฎรอย่างยิ่ง โดยทรงเป็นที่พึงสุดท้ายของราษฎร ถ้าราษฎรเห็นว่าตนไม่ได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาคดีก็มีสิทธิที่จะถวายฎีกา เพื่อขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานความเป็นธรรมแก่ตนได้ ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรง พระวิจารณญาณวินิจฉัยอรรถคดีใดด้วยพระองค์เอง พระบรมราชวินิจฉัยในคดีนั้นก็เป็นบรรทัดฐานที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมพึงถือปฏิบัติสืบต่อมา ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมี 3 กลุ่มได้แก่ ลูกขุน ณ ศาลหลวง ตระลาการ ผู้ปรับ การพิจารณาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้กล่าวหาหรือผู้ที่จะร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ต่อจ่าศาลว่าจะฟ้องความอย่างไรบ้าง จ่าศาลจะจดถ้อยคำลงในหนังสือแล้วส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงพิจารณาว่า เป็นการฟ้องร้องตามกฎหมายควรรับไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าเห็นควรรับไว้พิจารณาจะพิจารณาต่อไปว่า เป็นหน้าที่ของศาลกรมไหนแล้วส่งคำฟ้องและตัวโจทก์ไปยังศาลนั้น เช่น ถ้าเป็นหน้าที่กรมนา จะส่งคำฟ้องและโจทก์ไปที่ศาลกรมนา ตระลาการศาลกรมนาก็จะออกหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การไต่สวนเสร็จแล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่ามีข้อใดต้องสืบพยานบ้าง เมื่อลูกขุนส่งกลับมาแล้ว ตระลาการก็จะทำการสืบพยานเสร็จแล้วก็ทำสำนวนให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บมือที่ดินประจำผูกสำนวน เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าเป็นสำนวนของโจทก์ จำเลย แล้วส่งสำนวนคดีไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ลูกขุน ณ ศาลหลวงจะพิจารณาคดีแล้วชี้ว่าฝ่ายใดแพ้คดี เพราะเหตุใดแล้วส่งคำพิพากษาไปให้ผู้ปรับ ผู้ปรับจะพลิกกฎหมายและกำหนดว่าจะลงโทษอย่างไรตามมาตราใด เสร็จแล้วส่งคืนให้กรมนา ตระลาการกรมนาจะทำการปรับไหมหรือลงโทษตามคำพิพากษา หากคู่ความไม่พอใจตามคำพิพากษา ก็สามารถอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้น ๆ ถ้ายังไม่พอใจก็สามารถถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้อีก ศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมี 4 ศาลตามการปกครองแบบจตุสดมภ์ โดยเริ่มที่กรมวังก่อนแล้วจึงขยายไปยังที่กรมอื่น ๆ ในตองกลางกรุงศรีอยุธยามีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้นจึงมีศาลมากมายกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกรมของตน ในช่วงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยามีการรวมรวบกรมต่าง ๆ ขึ้นเป็นกระทรวงจึงแบ่งศาลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ศาลความอาญา ศาลความแพ่ง สองศาลนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัง ชำระความคดีอาญาและคดีความแพ่งทั้งปวง ศาลนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล ชำระความคดีโจรผู้ร้าย เสี้ยนหนามแผ่นดิน ทั่วไป ศาลการกระทรวง ขึ้นอยู่กับกระทรวงอื่น ๆ ชำระคดีที่อยู่ในหน้าที่ของกระทรวงนั้น ๆ ส่วนสถานที่พิจารณาคดีหรือที่ทำการของศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากศาลหลวงที่ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว ศาลอื่น ๆ ไม่มีที่ทำการโดยเฉพาะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า ที่ทำการของศาลหรือที่พิจารณาคดีคงใช้บ้านของตระลาการของศาลแต่ละคนเป็นที่ทำการ สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงนั้นมีหลักฐานตามหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 63ว่าด้วยตำนานกรุงเก่ากล่าวว่า ศาลาลูกขุนนอก คือศาลหลวงคงอยู่ภายในกำแพงชั้นนอกไม่สู้ห่างนัก คงจะอยู่มาทางใกล้กำแพงริมน้ำ เนื่องจากเมื่อขุดวังได้พบดินประจำผูกสำนวนมีตราเป็นรูปต่าง ๆ และบางก้อนก็มีรอยหยิกเล็บมือ ศาลหลวงคงถูกไฟไหม้เมือเสียกรุง ดินประจำผูกสำนวนจึงสุกเหมือนดินเผา มีสระน้ำอยู่ในศาลาลูกขุนใน สระน้ำนี้ในจดหมายเหตุซึ่งอ้างว่าเป็นคำให้การของขุนหลวงหาวัด ว่าเป็นที่สำหรับพิสูจน์คู่ความให้ดำน้ำในสระนั้น เพื่อพิสูจน์ว่ากล่าวจริงหรือกล่าวเท็จ
กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายดั้งเดิมของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นหลักกฎหมายที่ลูกขุนฝ่ายในศาลหลวงจะต้องยึดถือปฏิบัติ และใช้ในการวินิจฉัยคดี มีบทกำหนดลักษณะของตุลาการ ข้อพึงปฏิบัติของตุลาการ คำสั่งสอนตุลาการ
พระราชศาสตร์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ เช่น การวินิจฉัยคดีที่ราษฎรฎีกา เป็นต้น ซึ่งต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อมาจนกลายเป็นกฎหมาย
พระราชกฎหมาย กำหนดกฎหมายอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์พระองค์ต่าง ๆ ทรงตราขึ้นตามความเหมาะสม และความจำเป็นของแต่ละสมัยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
การลงโทษผู้กระทำผิดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความรุนแรงมากถึงขั้นประหารชีวิต การประหารชีวิตโดยทั่วไป ใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบ แต่ถ้าเป็นคดีกบฎประหารชีวิตด้วยวิธีที่ทารุณมาก การลงโทษหนักที่ไม่ถึงขั้นประหารชีวิตจะเป็นการลงโทษทางร่างกายให้เจ็บปวดทรมานโดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เข็ดหลาบ
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชภารกิจในการสงคราม เพื่อกอบกู้เอกราชจากพม่าและการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นบึกแผ่น ประกอบกับพระองค์ทรงครองราชย์เพียง 15 ปี จึงมิได้เปลี่ยนแปลงระบบการยุติธรรมคงใช้กฎหมายและระบบศาลของกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมา
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระมหากษัตริย์ไทยทรงแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัดแจ้งอีกครั้งว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระทัยที่จะประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม ให้แก่อาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง เมื่อนายบุญศรีช่างเหล็กหลวงได้ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีโดยอำแดงป้อมผู้เป็นภรรยาได้นอกใจทำชู้กับนายราชาอรรถและมาฟ้องหย่านายบุญศรีไม่ยอมหย่าให้ แต่ลูกขุนตัดสินให้หย่าได้ นายบุญศรีเห็นว่าตัดสินไม่เป็นธรรมจึงร้องทุกข์ถวายฎีกา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสอบสวน พบว่าลูกขุนตัดสินต้องตรงความกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า “ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าให้หญิงหย่าชายได้” พระองค์ทรงพระราชดำริว่า หลังจากเสียกรุงแก่พม่าแล้ว มีการดัดแปลงแต่งเติมกฎหมายให้ฟั่นเฟือนวิปริต ขาดความยุติธรรม สมควรที่จะชำระสะสางใหม่เพื่อให้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรวจสอบกฎหมายต่าง ๆ ให้ตรงตามพระธรรมศาสตร์ แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ และเพื่อป้องกันการดัดแปลงแก้ไขจึงทรงโปรดให้จัดทำเป็น 3 ฉบับมีข้อความตรงกันแยกเก็บไว้ที่ห้องเครื่อง หอหลวง และศาลหลวง แห่งละ 1 ฉบับแต่ละฉบับประทับตราเป็นสัญลักษณ์ 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเอาพระทัยใส่ในการพิจารณาคดีกับทรงห่วงใยในการดำเนินคดีต่ออาณาประชาราษฎร์ จึงทรงให้ขุนศาลตุลาการพิจารณาคดีโดยรวดเร็ว โดยการกำหนดขั้นตอนให้ปฏิบัติหากมีปัญหาให้นำความกราบบังคมทูล พระมหากรุณาห้ามกดความของราษฎรให้เนิ่นช้าเป็นอันขาดพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ทรงมีพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งต่องานศาล และกระทรวงยุติธรรมดังจะกล่าวต่อไป ในด้านการพิจารณาคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนตั้งกระทรวงยุติธรรมนั้น หลักใหญ่ยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา กฎหมายที่ใช้บังคับในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่รวบรวมใหม่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งต่อมาเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมและบัญญัติใหม่เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัยการบังคับใช้กฎหมายและระบบพิจารณาคดีแบบกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกไม่มีปัญหา แต่นานเข้ากรุงรัตนโกสินทร์มีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปทำให้ระบบศาลในการพิจารณาคดีกับกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับมาแต่โบราณไม่เหมาะสม เนื่องจากการพิจารณาไต่สวนคดีล้าสมัย เช่น การทรมานให้รับสารภาพ และการลงโทษที่รุนแรงและทารุณต่าง ๆ ปัญหานี้เริ่มชัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อชาวต่างประเทศขอทำสนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขตไม่ยอมขึ้นศาลไทย เริ่มจากประเทศอังกฤษขอตั้งศาลกงสุลประเทศแรก เพื่อพิจารณาคดีคนในบังคับของอังกฤษตกเป็นจำเลย ต่อมาชาติอื่น ๆ ก็ขอตั้งศาลกงสุลของตนบ้าง เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส ทำให้คนไทยต้องเสียเอกราชทางศาลบางส่วนไปเมื่อมีกรณีพิพาทกับชาวต่างประเทศ มีผู้พิพากษาเป็นชาวต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำต้องปรับปรุงการศาลให้ทันสมัย โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายมารวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน จัดตั้งศาลสถิตย์ยุติธรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2425 (ร.ศ. 101) โปรดเกล้าให้จารึกเรื่องที่ทรงพระราชดำริให้สร้างศาลหลวงนี้ไว้ในหิรัญบัตรบรรจุหีบไว้ในแท่งศิลาใหญ่ ซึ่งเป็นศิลาปฐมฤกษ์ เพื่อให้เป็นสิ่งสำคัญประจำศาลสืบไปภายหน้า ขอให้ธรรมเนียมยุติธรรมนี้จงเจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาลสมดังพระบรมราชประสงค์โดยสุจริตศาลสถิตย์ยุติธรรมนี้เป็นที่ประชุมของลูกขุนตระลาการ ขุนศาลทุกกระทรวง และกำหนดให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่พิจารณาคดี ีและศาลยุติธรรมอยู่ฝ่ายเดียวมิให้เกี่ยวกับราชการอื่น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นที่เก็บรักษากฎหมายต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ทุกประเภทให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อจะให้สอบสวนง่ายทำให้คดีเสร็จเร็วขึ้น
ต่อมา 1 ปีประเทศอังกฤษยอมผ่อนปรนเอกราชทางการศาลกับไทย โดยยอมให้ตั้งศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นเป็นแห่งแรก ศาลนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาไทย และกงสุลอังกฤษนั่งร่วมกันพิจารณาคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความกันเอง หรือคนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แต่อังกฤษก็ยังสงวนสิทธิที่จะถอนคดีไปให้ศาลกงสุลอังกฤษพิจารณาคดีเอง
ต่อมาปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ ให้มารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกันคือกระทรวงยุติธรรม โดยใช้อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นที่ทำการ โดยเริ่มจากการรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ ก่อนทำให้ศาลในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยมีถึง 16 ศาลเหลือเพียง 7 ศาล ครั้นรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ ให้สังกัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2439 ได้รวบรวมศาลหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป็นศาลมณฑลสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยเริ่มจากตั้งศาลมณฑลกรุงเก่าเป็นแห่งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัถยาในพระราชวังจันทร์เกษมเป็นที่ทำการ หลังจากนั้นได้ตั้งศาลมณฑลอื่น ๆ ตลอดราชอาณาจักร ศาลหัวเมืองในขณะนั้นมี 3 ประเภท คือ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวง เมื่อสถาปนากระทรวงยุติธรรมและจัดระเบียบการตั้งศาลหัวเมืองแล้ว ได้มีการปฏิรูปศาลให้ทันสมัยมากมาย เช่น ดำเนินการแยกอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการออกจากกัน โดยให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก ส่วนหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา ปรับปรุงระบบการพิจารณาคดี การสืบพยานให้รวดเร็วและทันสมัย เปลี่ยนโทษเฆี่ยนตีมาเป็นโทษจำขังแทน เลิกวิธีพิจารณาคดีโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล ร.ศ. 115 โดยยกเลิกวิธีทรมานต่าง ๆ ให้รับสารภาพ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎหมายและระบบศาลต่าง ๆ อีกหลายประการ นับว่าการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมก่อให้เกิดการพัฒนาทางศาลอย่างมากมาย ภายหลังจากการตั้งกระทรวงยุติธรรม 1 ปีก็ยกเลิกศาลกรมกองตระเวน ตั้งใหม่เป็นศาลโปริสภา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดศาลแขวงต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับพิจารณาคดีเล็ก ๆ น้อยสำหรับประชาชน 4 จังหวัดภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ คือจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับในคดีครอบครับและมรดก สำหรับอิสลามศาสนิกที่มีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดดังกล่าว มีดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้พิพากษาร่วมด้วยซึ่งเป็นการขยายความยุติธรรมให้ทั่วถึงยิ่งขึ้นและยังถือเปฏิบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ก และอิตาลี ยินยอมให้คนในบังคับของตนที่อยู่ในภาคเหนือขึ้นศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ทำนองเดียวกับ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2450 ฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญายินยอมให้คนในบังคับของฝรั่งเศสที่เป็นชาวเอเชียขึ้นศาลต่างประเทศทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เมื่อประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เมื่อ พ.ศ. 2451 อันเป็นประมวลกฎหมายระบบสากลฉบับแรกของไทย หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้ทยอยทำสนธิสัญญาคืนอำนาจศาลให้ไทยโดยให้คนในบังคับของตนขึ้นศาลไทย
ต่อมาปี พ.ศ. 2455 จึงมีการแยกอำนาจตุลาการออกจากกระทรวงยุติธรรมตามระเบียบจัดราชการกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. 131 ซึ่งกำหนดให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายธุรการของกระทรวงยุติธรรมอย่างเดียว ส่วนอธิบดีศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ การโยกย้าย และเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษา และวินิจฉัยข้อกฎหมายอันเป็นหลักที่ยึดถือจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนศาลเมืองเป็นศาลจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองกระทรวงมหาดไทยที่เปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี
ในปี พ.ศ. 2457 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม ไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนจากเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในปี พ.ศ. 2462 ส่วนประเทศพันธมิตรที่ร่วมชนะสงคราม ก็ได้รับรองเอกราชทางการศาลไทยด้วย ในช่วงนี้นับว่าไทยได้รับเอกราชทางการศาลเกือบสมบูรณ์ นอกจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็ยังให้สนธิสัญญาว่า หากประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี และกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมครบถ้วนแล้วจะให้เอกราชทางการศาลไทยโดยสมบูรณ์ภายใน 5 ปี ในขณะนั้นประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 อยู่หนึ่งฉบับ และได้รีบเร่งร่างกฎหมายที่เหลืออีก 3 ฉบับ
พ.ศ. 2475 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย การดำเนินการในเรื่องเอกราชทางการศาลได้กระทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง พ.ศ. 2478 จึงได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ศ. 2477 ครบถ้วนเป็นฉบับสุดท้าย
พ.ศ. 2481 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประเทศต่าง ๆ จึงได้ยกเลิกสนธิสัญญาโดยให้เอกราชทางการศาลไทยจนหมดสิ้นซึ่งเร็วกว่ากำหนด 2 ปี พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนศาลมณฑลเป็นศาลจังหวัด และเรียกศาลในสังกัดกระทรวงยุติธรรมว่า ศาลยุติธรรม แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น
ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลขึ้นอีกหลายศาล กล่าวคือ พ.ศ. 2495 จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางที่กรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก และต่อมาได้ขยายไปต่างจังหวัดด้วย
พ.ศ. 2523 จัดตั้งศาลแรงงานในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2525 จัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนย่านฝั่งธนบุรี
พ.ศ. 2529 จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2535 เปลี่ยนแปลงศาลคดีเด็กและเยาวชนเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อขยายการคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2535 เป็นวาระครบ 100 ปี กระทรวงยุติธรรม มีศาลสังกัดกระทรวงยุติธรรมดังนี้
ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศมีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทางด้านการยุติธรรมนับตั้งแต่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่ศาลและวงการตุลาการของไทยในการพัฒนาก้าวหน้าควบคู่กันมาโดยตลอดจนกระทั่งเป็นศาลที่ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศในปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม ก็มีบทบาทในการสนับสนุนงานยุติธรรมของศาลด้านงบประมาณ งานด้านอาคารสถานที่ และงานธุรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เช่น จัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลางและสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลต่าง ๆ เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ทำให้ลดจำนวนคดีลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่งจึงขยายงานคุมประพฤติ ตั้งเป็นกรมคุมประพฤติ ใน พ.ศ. 2535 จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อเผยแพร่การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องขึ้นศาลในด้านการพัฒนาที่ทำการของศาลนั้น กระทรวงยุติธรรมก็ได้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการศาลเพิ่มเติมตลอดมา เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณาคดีและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในโอกาสครบ 100 ปีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการเปิดอาคารที่ทำการใหม่ สำหรับศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลภาษีอากรกลาง จะเห็นได้ว่ากระทรวงยุติธรรมนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรองรับงานยุติธรรมของศาลได้ ใน พ.ศ. 2534 แบ่งเป็น 4 หน่วยงาน การบริหารงานราชการของกระทรวงยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรม อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศาลยุติธรรม ดังนั้นศาลและกระทรวงยุติธรรม จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลา 100 ปี
สถาบันหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่องานศาลและกระทรวงยุติธรรม คือ องค์พระมหากษัตริย์ อันเป็นต้นกำเนิดของศาลยุติธรรมและมีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบศาลและงานยุติธรรม ดังที่ทราบกันมาแล้วแม้ในระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว องค์พระมหากษัตริย์ยังทรงให้ความสำคัญต่องานยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่าบูรพกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แม้จะมีพระชนม์น้อยแต่ทรงสนพระทัยในกิจการศาลเป็นอันมาก ทรงเสด็จเหยียบศาลหัวเมือง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดนครปฐม และครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา การเสด็จเหยียบศาลถึง 2 ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จประทับบัลลังก์ร่วมกับพระอนุชา ในการพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้พิพากษา คดีที่ทรงเป็นประธานในการพิจารณาพิพากษาทั้ง 2 ครั้ง เป็นคดีลักทรัพย์ซึ่งจำเลยไม่เคยทำความผิดมาก่อน ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษตามพระบรมราชวินิจฉัย เป็นผลให้จำเลยทั้ง 2 คดีมีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป เป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการศาลยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังกระแสพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเหยียบกระทรวงยุติธรรม และศาลยุติธรรม นับตั้งแต่เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 “ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านทั้งหลายได้มีไมตรีจิตมาร่วมชุมนุมต้อนรับข้าพเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกัน การศาลยุติธรรมมีความสำคัญยิ่งประการหนึ่ง เพราะเป็นหลักประกันความปลอดภัยและความเที่ยงธรรมของคนทั้งประเทศ และเป็นอำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไปได้ก็ต่อเมื่อมีความยุติธรรมสม่ำเสมอเป็นหลักอันคนทั้งปวงพึงยึดถือเป็นที่พึ่งได้เนืองนิจ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จะได้ช่วยเหลือส่งเสริมให้การประสาทความยุติธรรมเจริญรุ่งเรืองสมควรแก่กาลสมัย ข้าพเจ้ามีความพอใจในประวัติของกระทรวงยุติธรรมและชื่อเสียงของศาลยุติธรรมที่ได้เป็นมา และความสามัคคีกลมเกลียวเป็นสมานฉันท์ของบรรดาข้าราชการกระทรวงยุติธรรม” ศาลยุติธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศและด้วยพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ ทำให้ศาลในพระปรมาภิไธยมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้สามารถประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ยิ่งกว่านั้นในคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วผู้ต้องคำพิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องยังมีโอกาสสุดท้ายที่จะยื่นเรื่องราวต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อขอรับพระราชทานอภัยโทษได้อีก องค์พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้อำนวยความยุติธรรม และเป็นที่พึงสุดท้ายของประชาชนอย่างแท้จริงสืบมาแต่โบราณกาล
เขียนโดย ยิ๋งอิ๊ฟ..อ๊น๊าาา ที่ 22:06 0 ความคิดเห็น
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยพันธมิตรต่างประเทศ - [ 9 เม.ย. 45, 16:39 น. ]
รียนคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยเรื่องการพิจารณาผลการเจรจากับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือท่านรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเราเขียนจดหมายนี้ด้วยความห่วงอย่างยิ่ง เพื่อที่จะขอให้รัฐมนตรีและสมาชิกผู้แทนราษฎรทุก ๆ ท่านเห็นชอบและอนุมัติผลการเจรจากับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ตัวแทนของรัฐบาลไทยใช้เวลาเกินสองอาทิตย์ในการเจรจา เพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนในภาคเหนือของประเทศไทย การเจรจานั้นได้ขอยุติซึ่งเป็นที่เห็นชอบของทุกฝ่าย พวกเราขอเรียกร้องมายังท่านเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้สนับสนุน พ.ร.บ. ป่าชุมชนฉบับประชาชนให้ออกเป็นกฎหมาย ซึ่งเป็นกฏหมายที่ยอมรับสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของเขาเอง เรื่องการปฏิรูปที่ดินให้ดำเนินการต่อไปตามความเห็นชอบ โดยเน้นปัญหาเรื่องที่ดินของนายทุนที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ทำประโยชน์และปล่อยทิ้งรกร้างไว้ ที่ได้ค้ำประกันไว้กับธนาคาร ให้ขยายเวลาในการผ่อนผันให้ประชาชนบนพื้นที่สูงที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาสถานะบุคคล ให้มีสิทธิที่จะอยู่อาศัยในประเทศไทยจนกระทั่งรัฐบาลไทยได้ดำเนินการการพิจารนาสถานะบุคกร และออกรายการสัญชาติไทยให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ให้รัฐบาลไทยยุติการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ระยะที่ 3 ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนให้มีการชดเชยอย่างเร่งด่วนและยุติธรรม ให้กับคนจนที่ได้รับความเสียหายจากการดำเนินการนโยบายและโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐให้มีการปฏิรูปนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำให้ยอมรับระบบการจัดการน้ำ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน และยุติการแปลงคุณค่าของน้ำให้กลายเป็นสินค้าที่มีราคาให้มีการปลดเปลื้องหนี้สิ้นของเกษตรกรที่เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเกษตรที่ ผิดพลาดของรัฐ ให้มีการประกันราคาพืชผลของเกษตรกรรายย่อย เพราะว่าราคาพืชผลที่ตกต่ำเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเดือดร้อนทางการเงิน และมีผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างรุนแรงให้มีการยกเลิก พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 และเห็นชอบและออกกฎหมายที่ยอมรับการผลิตเหล้าพื้นบ้านเพื่อการบริโภคและจำหน่าย เราขอเรียกร้องให้ท่านสนับสนุนการศึกษาวิจัยองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกียวกับการผลิตเหล้าพื้นบ้าน รายละเอียดของแต่ละประเด็นท่านสามารถศึกษาได้จากรายงานผลการเจรจากับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ การเจรจาครั้งนี้เรามีความเชื่อว่ารัฐบาลมีความจริงใจ และขอให้ท่านได้ดำเนินการตามคำสัญญาของนายกรัฐมนตรีท่าน ซึ่งประชาชนเชื่อว่าคำสัญญาของรัฐบาลจะมีคุณค่ายิ่ง ในระหว่างที่รัฐบาลไทยดำเนินการพิจารณาแก้ไขปัญหาให้ยุติการข่มขู่ คุกคาม และจับกุมประชาชนที่เกี่ยวข้อง
การถวายสัตย์ปฏิญาณ
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 17.35 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนี้ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่

ข้าพเจ้ายินดีที่ได้ฟังรัฐมนตรี ที่จะเข้ารับหน้าที่ต่อไปนี้ได้ปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างดี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งท่านมีหน้าที่ที่สำคัญที่สุด เพราะว่าจะต้องทำให้ประเทศชาติมีความสุข ความเรียบร้อย ถ้าท่านทำงานเรียบร้อย ทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย ก็เป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นบุญสำหรับประเทศ เพราะว่าประเทศต้องมีคนที่ดูแลความเป็นอยู่อย่างดี มิฉะนั้น ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานของประชาชนทั่วไปได้ดีนัก แต่ถ้าท่านได้ช่วยกันทำให้บ้านเมืองมีความสุข ความเรียบร้อย ก็ทำให้ประเทศชาติเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนคนไทยทุกคน ที่จะให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี เพราะว่าถ้าไม่สามารถที่จะมีความเป็นไทยอยู่ได้ ก็ขอให้ท่านพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะให้คนไทยมีความเรียบร้อย มีความสุขเพราะว่าถ้าทำไม่ดีจะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูง หรือ คนทั่วๆ ไป ทำไม่ดี คนหนึ่งคนใด ก็ทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ และก็ท่านก็มีหน้าที่สำคัญเพราะท่านอยู่สูง มีหน้าที่สูง ก็จะต้องทำให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านสามารถปฏิบัติงาน เพื่อความดีของประเทศ ความสงบสุขของประเทศ ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สุด ถ้าท่านทำได้ท่านเองก็มีความสุข และประชาชนทั่วไปทุกพวก ทั้งหมู่ ทั้งเหล่า ทุกเหล่าได้มีความสุขทั้งนั้น คนไหนจะทำอะไรก็สามารถจะปฏิบัติงานได้ ถ้าท่านช่วยกันดูแลประเทศชาติให้มีความราบรื่น ท่านเองก็มีความสุขเหมือนกัน ฉะนั้นที่ท่านตั้งใจที่จะปฏิบัติงานโดยดีนั้น เป็นความดีที่ท่านจะทำสำหรับตัวเองด้วย สำหรับส่วนรวมด้วย เพราะว่า ถ้าส่วนรวมอยู่ดีท่านก็อยู่ดี ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานโดยเรียบร้อย ทำให้ทั้งประเทศมีความราบรื่น ซึ่งเราต้องการความสงบของประเทศ ก็ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงาน โดยเรียบร้อยทุกอย่าง และขอให้ท่านมีความสำเร็จในงานการแต่ละส่วนที่ท่านต้องทำ[2]

นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้สกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน
เรียนฟรี 15 ปี
รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นการส้รางโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 19,296,100,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน 15 ปี ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่าย 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการไปแล้วร้อยละ 77 หรือเป็นเงินประมาณ 18,575,470,000 บาท ส่วนหนึ่งยังมีผู้ปกครองที่มีรายได้พอสมควรไม่ประสงค์จะรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลนำเงินในส่วนนี้ไปช่วยในการพัฒนาโรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร 577 โรง รวมเป็นเงินประมาณ 40 ล้านบาท[3]เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
รัฐบาลต้องการสร้างหลักประกันรายได้ เป็นการตอบแทนการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการจ่ายเงินค่ายังชีพ จำนวน 500 บาท ต่อเดือน ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป[4]
อสม. เชิงรุก
รัฐบาลเห็นความสำคัญของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีอยู่ 987,019 คนทั่วประเทศ ให้ได้รับเงินค่าสวัสดิการตอบแทน (ค่าป่วยการ) ในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน[5]
การประกันรายได้เกษตรกร
โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรที่ทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3.95 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำรายได้ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 0.91 ล้านราย[6]
การนำที่ดินราชพัสดุเพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร
การนำที่ดินราชพัสดุจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร ได้ดำเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 114,376 ไร่ จำนวนเกษตรกร 6,894 ราย
การดูแลสุขภาพ
อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[7]
การออกกฎหมาย
พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[8] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์.[9]
การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การตรวจตราขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[10] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[11]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[12]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ดูเพิ่มที่ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2551
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการต่างประเทศของไทย มีคำสั่งเรียกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญ กลับประเทศ เพื่อเป็นการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ตอบโต้การให้สัมภาษณ์กล่าวหากระบวนการยุติธรรมของไทย และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ จากกรณีที่กัมพูชาแต่งตั้งพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทักษิณ ถือเป็นนักโทษที่ประเทศไทยต้องการตัวตามหมายจับในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งมีโทษจำคุก 2 ปี[13]
เช็คช่วยชาติ
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[14] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[15] เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยสร้างกำลังซื้อภายในประเทศในวงกว้างอย่างทั่วถึง เห็นผลเร็วและรั่วไหลน้อยที่สุด เพื่อพยุงเศรษฐกิจช่วงเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวในระยะเร่งด่วน โดยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศโดยนำเงินใส่มือประชาชนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง รายละ 2,000 บาท (สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท)[16]
ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552
ดูเพิ่มที่ เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552
การตอบรับ
คำชื่นชม
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 08.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายจาง จิ่ว หวน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้เดินทางเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้น นายจาง จิ่ว หวน เปิดเผยว่า มาเยี่ยมคำนับและนำสาส์นจากนายกรัฐมนตรีจีนมาแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ในโอกาสดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลจีนและประชาชนจีนจะยึดถือนโยบายเป็นมิตรกับประเทศไทย โดยจะพัฒนาความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ การศึกษา การท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ยืนยันจะเดินทางไปเยือนจีนในเวลาที่เหมาะสม นายจาง จิ่ว หวน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไทยได้ยืนยันที่จะมีการจัดการประชุมอาเซียนซัมมิท ในเร็วๆนี้ โดยจะมีหลายประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งอินเดีย จีน เกาหลี เป็นต้น
และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า นายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติและความ สามารถที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอีตัน อีกทั้งจบมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ พร้อมแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลชุดนี้มีภารกิจใหญ่ 4 ประการคือการฟื้นความมั่นใจของนานาชาติในประเทศไทย สร้างความสมานฉันท์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง โดยยึดหลักนิติธรรม รักษาความปลอดภัยของสนามบิน ซึ่งถือเป็นประตูในการท่องเที่ยวของไทย สร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งจะดึงให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในการเข้าพบครั้งนี้ ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นแฟนฟุตบอลอังกฤษ จึงได้มอบของขวัญเป็นเสื้อยืดนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยด้านหลังมีชื่อ นายอภิสิทธิ์ และหมายเลข 27 ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 เวทีการเสวนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยเจ้าของธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ทั่วโลก ได้กล่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าเข้าถึงคุณค่าและเข้าใจความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยามเศรษฐกิจถดถอย[17]
เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้นำเสนอคำชื่นชมของสื่อต่างประเทศ ได้แก่ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น สำนักข่าวเอ็นเอชเค และสำนักข่าวอื่นๆ ว่าได้นำเสนอข่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สามารถควบคุมสถานการณ์ในการชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดงได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ ยังได้นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ว่า การจลาจลของกลุ่มผู้ชุมนุมครั้งนี้อาจเป็นความพยายามเฮือกสุดท้ายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อกลับคืนสู่อำนาจ ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยังสามารถฟื้นฟูความน่าเชื่อถือที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ [18]
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงการที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ประเมินผลการทำงานของรัฐบาลในช่วง 1 ปีโดยให้คะแนนในระดับ บี เพราะท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ต่อให้หาเทวดาที่ไหนมาทำงาน ก็ไม่สามารถทำได้ดีไปกว่านี้แล้ว ที่สำคัญต้องการให้รัฐบาลพยายามประคองตัวเดินหน้าแก้ไขปัญหาของชาติต่อไปให้ได้ โดยไม่ให้เกิดการยุบสภาในเวลาที่เร็วเกินไป เพราะหากมีการยุบสภาเกิดขึ้นเร็ว ก็ทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันต้องดูแลอย่าให้เกิดความขัดแย้งเพราะจะบั่นทอนความเชื่อมั่นลงไปอีก เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นทันตาเห็นทันทีแต่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หรือทำให้ลูกหลานของเราเดือดร้อน[19]
คำวิจารณ์
เมื่อช่วงสายวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่พรรคเพื่อไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้แถลงว่า ขอเสนอฉายา ครม.อภิสิทธิ์ 1 เพื่อให้ประชาชนโหวตเลือกระหว่างฉายา "ครม.ต่างตอบแทน" กับ "ครม.ไอ้โหนไอ้ห้อย" ผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2280-6888
ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ให้สัมภาษณ์ถึงโฉมหน้า ครม.อภิสิทธิ์ 1 ว่า เป็นรัฐบาลที่ไปปล้นเขามา ปล้นกลางอากาศ หรือไฮแจ็ค โดยไม่เกรงใจและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน [20]
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อมพรรคเพื่อไทย กล่าวบนเวทีปราศรัยใหญ่ช่วย นายขจิตร ชัยนิคม ผู้สมัครเลือกซ่อม ส.ส.เขต 1 มหาสารคามหาเสียงว่า หลังเลือกตั้งวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551 ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และขอตั้งฉายารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า เป็น "รัฐบาลเด็กอนุบาล" เพราะมีมือที่มองเห็นและไม่เห็นช่วยอาบน้ำประแป้งให้เสร็จ แล้วเอาไปส่งโรงเรียนเอาใครก็ไม่รู้มาเป็นรัฐมนตรี [21]
ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงกรณีที่สำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมถอนฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาลว่าตนของตั้งฉายาให้กับรัฐบาลชุดนี้ว่า รัฐบาลชุดป้ายสี ตัดตอน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการสมยอมกันของ นายลอยเลื่อน บุญนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มพันธมิตรฯ โดยคดีดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมากกลับจะถอนฟ้อง มีการตัดตอนเพื่อไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม [22]
ผลสำรวจ
ดัชนีความสุข
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เอแบคโพลเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 3,516 ตัวอย่างเกี่ยวกับดัชนีความสุขภายหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง ผลปรากฏว่าความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 4.84 ในช่วงเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 6.55 จากคะแนนเต็ม 10 และถือว่าเป็นค่าความสุขที่สูงที่สุดตั้งแต่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2551 โดยพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 79.7 นอนหลับค่อนข้างสนิทถึงนอนหลับได้สนิทขึ้นหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ในขณะที่ร้อยละ 9.7 นอนหลับได้ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.6 นอนไม่ค่อยหลับถึงนอนไม่หลับเลย นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 38.2 คิดว่าทิศทางการเมืองจะดีขึ้นหลังจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าจะแย่ลง และร้อยละ 33.6 ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้[23]
ผลงานรัฐบาล
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปี ในทรรศนะของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ผลการสำรวจพบว่าผลงานรัฐบาลที่ประชาชนพอใจมากที่สุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อันดับที่หนึ่งได้ 8.15 คะแนน คือ การปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับอันดับแรกที่ประชาชนพอใจผลงานรัฐบาลน้อยที่สุด ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้คะแนนพอใจเฉลี่ย 5.10
โดยคะแนนรวมของพลงานรัฐบาลอยู่ที่ 6.35 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีความหมายว่า ประชาชนพอใจต่อผลงานรัฐบาลค่อนข้างมาก